ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "กบ "

กบ
กบ

กบ " อกหนาม " จันทบุรี

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์ไทยพบเป็นครั้งแรกที่บริเวณเขาสอยดาวใต้ อำเภอโป่งน้ำร้อนจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2504 ด้วยลักษณะผิวหนังหยาบเป็นปุ่มปมโดยทั่วไป ในครั้งแรก ๆ ผู้ที่พบจึงคิดว่าเป็นคางคก แต่เมื่อนำมาศึกษาโดยละเอียดจึงพบว่าเป็นกบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแปลกไปกว่ากบชนิดอื่น ต่อมาการศึกษากบชนิดนี้ได้รับความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์ฟิลด์แห่งสหรัฐอเมริกา จึงได้พบว่ากบชนิดนี้เป็นกบชนิดใหม่ของโลกและได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rana fasciculispina อยู่ในวงศ์ Ranidae มีชื่อทั่วไปว่า Spiny-breasted Frog ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะที่มีหนามสีดำบนหน้าอกของตัวผู้ที่โตเต็มที่ เป็นข้อแตกต่างจากกบชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกัน

กบอกหนามที่พบบริเวณเขาสอยดาวใต้ ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณป่าดิบชื้น ตามริมลำธารที่มีน้ำไหลแรงตลอดปี และวางไข่ใต้ก้อนหินใหญ่ริมลำธาร ลูกกบขนาดเล็ก ชอบเกาะอยู่บนก้อนหินติดกับระดับน้ำว่ายน้ำได้ค่อนข้างว่องไว กบขนาดใหญ่จะอาศัยอยู่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำตกขนาดใหญ่ที่มีหลายชั้นซ้อนกัน กบอกหนามออกหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์ในฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

ลักษณะ

กบชนิดนี้มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับคางคก โดยมีผิวหนังหยาบ ขรุขระเป็นสันและปุ่ม ลำตัวสีเขียว น้ำตาลจนถึงสีดำ มีจุดประสีน้ำตาลทั่วตัวในฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะมีกลุ่มหนามแหลมสีดำ กลุ่มละ 5-10 อัน กระจายกันอยู่บนแผ่นอกและใต้คาง เมื่อสิ้นฤดูผสมพันธ์หนามเหล่านี้จะหลุดหายไป เหลือเพียงรอยสีคล้ำๆ ตรงตำแหน่งเดิมนิ้วเท้ามีแผ่นหนังยึดอยู่เต็มตลอดนิ้ว และปลายนิ้วเท้ายังขยายพองออกกว้างราวสองเท่าของความกว้างนิ้ว

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

กบ
เป็นกบชนิดหนึ่งในวงศ์กบนา (Ranidae) พบในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี, เจ้าของภาพคุณนาถพงศ์ สุวรรณวาทิน
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กบอกหนาม ป่าดิบชื้น
http://164.115.23.146/chanthaburi/animal.html
นางสาวสุชารี แสงทอง แก้ไขล่าสุด 2020-12-17 09:11:32

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

กบ
กบ