พระอุโบสถหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อไดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่ได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่หลายครั้ง ที่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดในการบูรณะก็ในพุทธศักราช ๒๑๒๕ โดยมีคุณหญิงเหล็งผู้มีเชื้อสายจีนเป็นผู้นำศรัทธาทั้งอุบาสกอุบาสิกาผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ร่วมบริจาคทรัพย์ทำการก่อสร้างบูรณะซึ่งทุนทรัพย์ในครั้งนั้นเท่าไดมิได้ปรากฎหลักฐาน เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จได้มีการฉลองสมโภชน์อุโบสถตลอด ๗ วัน ๗ คืน จากนั้นก็ได้ใช้ทำสังฆกรรมสงฆ์ตลอดมาต่อมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๒๗ได้มีการบูรณะต่อเติมอีกครั้งหนึ่งโดยเปลี่ยนจากผนังและเสาไม้มาเป็นก่ออิฐถือปูนโดยกรรมวิธีแบบโบราณ โดยช่างได้นำวัตถุธรรมชาติ อาทิ ดินเหนียว ดินทรายเปลือกหอย นำมาตำและฉาบด้วยอิฐเผา โดยยังคงรูปการก่อสร้างตามโครงสร้างเดิมมิได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยตัวพระอุโบสถเป็นรูปทรงเก๋งจีนผสมทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบรรณแกะสลักไม้ทั้งสองข้าง จึงดูงดงามวิจิตรเป็นที่ยิ่ง สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัยอยุธยา ส่วนด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเขียนขึ้นหลังในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ยังเขียนได้ไม่สมบูรณ์ องค์พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศีลปะในสมัยอยุธยาตอนต้นลักษณะพระอุโบสถ มีความกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๗ เมตร รูปทรงเก๋งจีน มีเสานางรองรอบระเบียง ๑๗ ต้น มีอายุกว่า ๔๐๐ ปี ปัจจุบันถือเป็นถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดและพุทธศาสนาทรงคุณค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์เพื่อเป็นสมบัติของชาติและศาสนาสืบไป
สร้างเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า หลังจากบูรณะอุโบสถหลังเก่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประมาณปี พ.ศ.๒๒๒๙ ซึ่งมีคณะอุบาสกอุบาสิกา พร้อมทั้งชาวบ้านผู้มีศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนาร่วมกันก่อสร้างองค์พระเจดีย์นี้ สันนิษฐานว่า สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของวัดคู่กับอุโบสถหลังเก่าของวัดอินทราราม และพุทธบูชา เพื่อให้พุทธบริษัท ๔ ได้สักการะบูชาเพื่อเป็นศิริมงคล ลักษณะองค์พระเจดีย์ ทรงระฆัง ฐานกว้าง ๗ เมตร ๘ เหลี่ยม สูง ๑๙ เมตร ก่อด้วยอิฐดินเผาฉาบยาด้วยปูนตำศิลปะในสมัยอยุธยา ปัจจุบันเป็นถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดและพระพุทธศาสนาควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบใป