-บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ก่ออิฐถือปูน ฐานกว้าง ๔ วา สูง ๖ วา ๓ ศอก สร้างเมื่อ จุลศักราช ๑๑๙๘ (พ.ศ.๒๓๗๙) โดยพระยาไกรไกษา (ข้าหลวงประจำจังหวัดจังหวัดจันทบุรี) -ต่อมาพระยาธิบดีศรีรณรงค์ฤไชย(พระยาจันทบุรีในรัชกาลที่ ๔ ) ได้บรรจุพระบรมธาตุในองค์เจดีย์ ขนานนามว่า ” รัตนคีรีเจดีย์ ” -เมื่อจุลศักราช ๑๒๓๘ ( พ.ศ. ๒๔๑๙) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ( รัชกาลที่ ๕ ) เสด็จประพาสเขาพลอยแหวน ทรงวิจารณ์ไว้ในพระนิพนธ์ ดังต่อไปนี้ ” ถ้าเขาพลอยแหวนคล้ายกับเขาสัตนารถ ( อยู่ที่จังหวัดราชบุรี ) แต่มีผิดกันที่เขาพลอยแหวนไม่มีศิลาเหมือนเขาสัตนารถ และทั้งมีลักษณะต่ำกว่ากันด้วย ” -ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ ทางราชการได้ทำบูรณะปฎิสังขรณ์ใหม่ เป็นฐานกว้าง ๖ วา สูง ๗ วา ๓ ศอก
-ตั้งอยู่บนยอดเขาคู่กับองค์เจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ฐานกว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๔วา ๒ ศอก สูง ๗ วา โดยคนในตระกูลบุญเรือง มี นายซองแป๊ะ นายซองกุ่ย เป๋นต้น พร้อมได้นำพระพุทธรูปและพระพุทธบาทจำลองศิลาทรายแกะสลักมาประดิษฐานภายในมณฑป (ลักษณะเดียวกันกับที่พบ ณ วัดสระบาป) ปัจจุบันชำรุดแตกหัก พระพุทธบาทจำลองในปัจจุบันได้สร้างขึ้นมาใหม่หล่อด้วยทองเหลือง -เจดีย์และมณฑป กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๔ ตอนที่ ๑๔๓ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๙๐ ตารางวา