“ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง หรือ ก๋วยเตี๋ยวหมูเรียง?” อาจจะพบว่ามีการเขียนทั้ง 2 แบบ การใช้คำว่า “เรียง หรือ เลียง” ขึ้นอยู่กับคำอธิบาย คำว่า “เรียง” หมายความตามตัวคือ นำหมูมาวางเรียง ส่วนคำว่า “เลียง” ก็เหมือนกับการทำแกงเลียง คือการทำเครื่องเทศ สมุนไพรต่างๆ มาโขลกผสมกันก่อนนำไปใส่ในน้ำ
สิ่งที่เป็นความเฉพาะเจาะจงของก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง คือ การเติมแง่งของเร่ว ซึ่งเร่วเป็นไม้ที่เป็นราก พบมากเฉพาะในภาคตะวันออก เร่วเป็นไม้พื้นบ้าน แล้วก็มีการเติม ข่าแก่ กระเทียมดอง กะปิเผา ซึ่งกะปิก็เป็นอาหารที่มีการผลิตในท้องถิ่น ส่วนสับปะรด ก็ปลูกได้ตามท้องถิ่น ฉะนั้นการผสมผสานเครื่องเทศหลายๆ อย่างลงไป ทำให้ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงมีรสชาติที่มีความเฉพาะมากๆ และเป็นรสชาติที่อร่อยและหอมเครื่องเทศผล : ช่วยแก้ไข้ แก้อาการหืดไอ ไอมีเสมหะ ใช้ปรุงเป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง รักษาริดสีดวงทวาร
ใบ : ใบเร่วหอม สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสวะ ราก : ใช้เป็นยาเส้น
1. เร่วหอม 3 แง่ง
2. หัวข่า 3 แง่ง 3. ตะไคร้ 2 ต้น 4. กระเทียมดอง 3 หัว 5. เต้าหู้ยี้ 1 ชิ้น 6. เต้าเจี้ยว 3 ช้อนโต๊ะ 7. น้ำปลา 1/3 ของขวด 8. น้ำตาลอ้อย 3 ขีด 9. เครื่องต้มพะโล้ 10. กระดูกหมู ซี่โครงหมู 2 ชิ้น 11. น้ำ 1 หม้อ (เบอร์ 34)1. ตั้งน้ำให้เดือด ใส่หัวข่า ตะไคร้ที่ทุบเรียบร้อยแล้วลงไปพร้อมส่วนผสมทั้งหมด รอน้ำเดือด
2. จากนั้นนำกระดูกหมูและซี่โครงหมูใส่ลงไป รอน้ำเดือดอีกรอบ 3. ใส่เครื่องต้มพะโล้ รอน้ำเดือด ชิมรส เป็นอันเสร็จ1. “น้ำอ้อย” ไม่ใช่น้ำตาลทรายแดง ไม่ใช่น้ำตาลอ้อย ไม่ใช่น้ำอ้อยสด “น้ำอ้อย” ทำที่ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นน้ำตาลที่ไว้ปรุงก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงช่วยเพิ่มรสชาติดีนักเชียว
2. “น้ำส้มพริกตำ” อันนี้ก็ขาดไม่ได้เลย ทำจากพริกขี้หนูตำผสมน้ำส้มสายชู ให้รสเผ็ดปนเปรี้ยว