จังหวัดจันทบุรีมีการละเล่นสะบ้าล้อกันมานาน เดิมที่นั้นนิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักเล่นกันในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ นอกจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังมีการแข่งขันเอาแพ้เอาชนะกันว่าบ้านใดตำบลใดเป็นผู้มี ฝีมือในการเล่นมากกว่ากัน แต่ในปัจจุบันหามีผู้เล่นได้น้อยเต็มที เด็ก ๆ ก็ไม่นิยมเล่น การเล่นสะบ้าล้อนี้จึงไม่แพร่หลาย แต่จังหวัดจันทบุรี โดยเทศบาลเมืองจันทบุรีได้พยายามอนุรักษ์ไว้ โดยมีการจัดให้มีแข่งขันเป็นประจำทุกปี ในช่วงของเทศกาลตรุษสงกรานต์
๑. ลูกสะบ้า (เป็นไม้กลึง มีลักษณะเป็นทรงกลมแบน ด้านหนึ่งมีลวดลาย ด้านหนึ่งผิวเรียบ ขนาดแล้วแต่ความถนัดของผู้เล่น)
๒. แก่น (หรือไม้ตั้งก็เรียก)
ผู้เล่นจะแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย มักนิยมเล่นฝ่ายละ ๕ คนขึ้นไป โดยจะผลัดกันเล่นเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งแพ้ และจะมีท่าต่าง ๆ ในการเล่นมากมาย ซึ่งในแต่ละท่าจะมีกฎเกณฑ์เป็นของ ตนเองหากฝ่ายใดสามารถเล่นผ่านท่าแต่ละท่า จนครบทุกท่าที่กำหนดในการเล่นแต่ละครั้งก่อน จะเป็นผู้ชนะระยะที่ตั้งแก่นกับจุดเริ่มต้นต้องห่างกันประมาณ ๑๖ เมตร ( หรือแล้วแต่กำหนดขึ้นในแต่ละครั้งที่เล่น ) ท่าต่าง ๆ ที่นิยมใช้เล่นกันโดยทั่วไป ได้แก่
ท่าที่ ๑ เทกระทะ คือการเอาลูกสะบ้าวางไว้บนหลังเท้า แล้วดีดเท้าที่มีลูกสะบ้านั้นออกไปกระทบแก่น
ท่าที่ ๒ ล้อกระทอก คือตั้งลูกสะบ้าที่จะเริ่มต้นเมื่อลูกสะบ้าล้อไปแล้ว ใช้เท้าข้างหนึ่งกระทอก ( เตะ ) ลูกสะบ้าให้ไปกระทบแก่น
ท่าที่ ๓ ล้อเน่า ใช้มือล้อลูกสะบ้าให้ไปอยู่ด้านหลังแก่น เวลาล้อต้องให้ลูกสะบ้าผ่านช่องระหว่างแก่นที่ตั้งอยู่ใช้เท้าปาดลูกสะบ้าให้อยู่ใกล้กับด้านหลังแก่นของตัวเอง แล้วใช้นิ้วมือยิงลูกสะบ้าให้ถูกแก่น
ท่าที่ ๔ อีเปิด เล่นคล้ายเทกระทะ แต่ต้องให้ลูกสะบ้าออกจากเท้า ท่านี้สามารถเตะลูกได้ใช้เท้าปาดไป หน้าแก่และขึ้นเข่ายิงได้
ท่าที่ ๕ อีปิด ใช้ลูกสะบ้าวางไว้บนหลังเท้าข้างหนึ่ง และเอาเท้าอีกข้างหนึ่งมาเหยียบปิดไว้บนลูกสะบ้า ( เท้าทั้ง ๒ จะไขว้ากัน ) แล้วกระโดดให้ลูกสะบ้าออกทางนิ้วก้อย สามารถแต่งลูกและใช้เท้าปาดลูก สะบ้าได้ แล้วยิงสะบ้าให้ถูกแก่น
ท่าที่ ๖ อีด้ามไม้กวาด เล่นคล้ายอีเปิด คือต้องโยนลูกสะบ้า แล้วยิงให้ถูกแก่นถึง ๓ ครั้ง แต่ไม่สามารถแต่ลูกสะบ้าตามต้องการได้