ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "นายกาญจน์ กรณีย์ "

นายกาญจน์ กรณีย์
นายกาญจน์ กรณีย์

ชื่อ นายกาญจน์ นามสกุล กรณีย์

เกิด วันที่ 8 เมษายน ปี พ.ศ. 2492

อาชีพปัจจุบัน เกษตรกร ชื่อ-สกุล ภรรยา นางกลิ่นทอง กรณีย์

ผลงานที่ปรากฏ

- ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน – เกวียนหัก

- เป็นผู้จัดแสง สี เสียง ตำนานแห่พระบาทประวัติศาสตร์พระเจ้าตากจันทบุรี

- ดำเนินการจัดงานก่อเจดีย์ทราย 2500 กอง

- จัดมหาชาติทรงเครื่องประกอบแสงสีเสียงมากกว่า 10 ครั้ง

- จัดกิจกรรมการแสดงหมากรุกคน มากกว่า 10 ครั้ง

- หัวหน้าวงกลองยาวคณะสวนปู่ และเป็นแชมป์ภาคตะวันออก

- แต่งเพลงพื้นบ้าน เพลงหงส์ฟาง ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และได้ไปเผยแพร่วัฒนธรรมแลกเปลี่ยน ไทย – ญี่ปุ่น

- เพลงหงส์ฟาง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพลงพื้นบ้านประจำจังหวัดจังหวัดจันทบุรี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสภาวัฒนธรรมจังหวัด

- เขียนเพลงฉ่อย เพลงเรือ มากกว่า 20 เพลง

- เพลงพื้นบ้าน (ยันแย่ เท่งตุ๊ก หงส์ฟาง)

- ตำนานผ้าพระบาท ชักเย่อเกวียน

- มหาชาติทรงเครื่อง

- หมากรุกคน

รางวัลหรือเกียรติคุณที่เคยได้รับ

- บุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี 2553

- รับรางวัลอาสาสมัครดีเด่นของประเทศ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ปี 2552

- ได้รับเกียรติบัตรเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีกับบุคคลทั้งหลาย ในฐานะพ่อดีเด่น

- ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และได้ไปเผยแพร่วัฒนธรรมแลกเปลี่ยน ไทย – ญี่ปุ่น โดยใช้เพลงหงส์ฟาง

- จัดตกแต่งขบวนรถสงกรานต์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เมื่อปี 2552 ณ วัดใหม่เมืองจันท์

- ได้รับเกียรติบัตรบุคคลที่อนุรักษ์ถูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแสดงพื้นบ้าน หงส์ฟาง

- ได้รับเกียรติบัตรในฐานะประธานกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน – เกวียนหัก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติ ปี 2558

แนวคิดของการพัฒนาตน พัฒนางาน

การทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน จะทำให้เราทำงานได้อย่างมีใจรัก มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชาวบ้านและชุมชน ไม่ปิดกั้นตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และส่วนหนึ่งชอบศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ เพื่อใช้ในการพัฒนางาน และเรียนรู้สิ่งใหม่วัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน เกิดความรักสามัคคี ต่อกันอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดของการพัฒนาคน พัฒนางาน

ทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเสียสละ การทำความดีไม่จำเป็นต้องให้ใครเห็น เราเป็นผู้ทำเรารู้ของเราเองว่าดี หรือไม่ดี ต้องการอะไร ส่วนมากแล้วงานวัฒนธรรมคนที่จะทำมาหากินจริงๆต้องมีใจรัก ต้องเสียสละ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นนิสัย พอทำได้แบบนี้ งานทุกอย่างเหมือนเป็นงานของตนเอง ไม่ได้มองว่าเป็นงานของคนใดคนหนึ่ง หรืองานของวัด ทำเพราะว่าชอบทำ ไม่ต้องกลัวข้อกล่าวหา ในประเด็นอื่นๆที่คิดว่าไม่ดี แต่ก็อาจมีบ้างคนอื่นที่ไม่ชอบเรา เช่นอาจจะใส่ความเรื่องเงินๆทองๆแต่ถ้าเราทำแบบโปร่งใส บริสุทธิ์ใจ ทุกอย่างมันจะผ่านไปด้วยดี

รวบรวม : สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

นายกาญจน์ กรณีย์
ผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน – เกวียนหัก บุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี 2553
ปราชญ์ชาวบ้าน/บุคลากรทางวัฒนธรรม
สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
37/2 หมู่ 1 ตำบล เกวียนหัก อำเภอ ขลุง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22110
085-0861273
ปราญ์ชาวบ้าน ตะปอน เกวียนหัก กลุ่มอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน ตะปอน – เกวียนหัก
สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2019-03-15 11:16:16

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

นายกาญจน์ กรณีย์
นายกาญจน์ กรณีย์
นายจีรประทีป ทองเปรม
นายจีรประทีป ทองเปรม
นายจักรวาล มงคลสุข
นายจักรวาล มงคลสุข