ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)"

พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)
พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)

พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)

ยอดเขาคิชฌกูฏมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลพลวง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ห่างจากตัวจังหวัดทางทิศเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ “รอยพระพุทธบาท” มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กิโลเมตร

ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)

พระครูธรรมสรคุณ เจ้าอาวาสวัดกระทิง และเป็นเจ้าคณะอำเภอมะขาม ผู้สืบค้นประวัติเขาคิชฌกูฏ กล่าวไว้โดยย่อว่า เมื่อ พ.ศ. 2397 นายติ่งและคณะได้พากันขึ้นไปบนเขาหาไม้กฤษณา ไม้กะลำพัก 5 มาขาย ต้องขึ้นไปพักอยู่บนเขาเป็นเวลาหลายวัน และได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้างใหญ่ เพื่อนของนายติ่งคนหนึ่งได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ และเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอยต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี รุ่งขึ้นก็มีงานเทศกาลปิดรอยพระพุทธจำลอง นายติ่งจึงซื้อทองไปปิดรอยพระพุทธบาทนั้น เมื่อปิดแล้วจึงพูดขึ้นว่ารอยพระพุทธบาทเช่นนี้ทางบ้านผมก็มีเหมือนกัน พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดพลับ (หลวงพ่อเพชร) ทราบ ขณะนั้นหลวงพ่อดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี จึงเรียกนายติ่งมาสอบถาม แล้วพาคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู ก็เป็นความจริง และตรวจดูตามบริเวณนั้นทั่วๆ ไปก็พบสิ่งแปลกประหลาดและสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่าง รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้เป็นร้อยกว่าคนบนยอดเขาสูงสุดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกกันว่า หินลูกพระบาท ตั้งขึ้นมาน่าแปลกมหัศจรรย์เป็นอย่างมากไม่น่าจะตั้งอยู่ได้ มองดูคล้ายลอยอยู่เฉยๆ มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดมาได้ และยังมีหินอีกลูกหนึ่งใหญ่มากเหมือนกัน อยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น ในก้อนหินนั้นตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์ ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่อันนี้เขาเรียกว่ารอยเท้าพญามาร เพียงแหงนหน้าขึ้นไปมองจะเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า บนหลังถ้ำจะมองเห็นเป็นรูปเต่า ลักษณะคล้ายๆ เต่าปลวก ต่อจากนั้นหากหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะมองเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไปจะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้างจริง เลยจากช้างสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่งเพราะฝรั่งไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่ มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกกันว่า ถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข่างบนถ้ำมีลักษณะคล้ายๆ เรือสำเภาจึงเรียกว่า ถ้ำสำเภา ยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่า ถ้ำตาฤๅษี

พระบาทแห่งนี้ทำไมจึงเรียกว่า “เขาคิชฌกูฏ” ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะมีชื่อเขาในกรุงราชคฤห์ในประเทศอินเดียลูกหนึ่ง ชื่อว่าเขาคิชฌกูฏ ฟังแล้วสะเทือนใจคล้ายๆ กับว่าได้ไปยังนครราชคฤห์อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ครั้งปฐมโพธิกาลโน้นและการไปมาก็ไม่สู้ไกลนัก นึกไปว่าปีหนึ่งเรายังได้มีโอกาสไปนมัสการรอยพระพุทธบาทครั้งหนึ่ง บาทหรือเท้านับว่าเป็นอวัยวะที่ต่ำที่สุดของมนุษย์เรา แต่เท้านั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ถ้าขาดเท้าเสียก็ไม่สามารถที่จะไปประกอบคุณงามความดีได้ โดยเฉพาะเป็นเท้าของพระพุทธองค์ด้วยแล้วเป็นเท้าพิเศษและบริสุทธิ์ ผู้คนเลื่อมใสและเคารพกราบไหว้ส่วนเท้าของพระพุทธองค์ แม้จะประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้ามีความเชื่อมั่น มีความเคารพกราบไหว้ด้วยใจอธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคน และจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไปด้วยใจอันแน่วแน่ของกระแสจิตผู้นั้น

ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยก่อนนั้น (อินเดีย) แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อพระบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา

พิธีบวงสรวงเปิดนมัสการพระบาทพลวง

ในทุกๆ ปีก่อนที่เริ่มเทศกาลแสวงบุญนมัสการพระบาทพลวง จังหวัดจันทบุรีจะมีพิธีกรรมอย่างหนึ่ง คือพิธีบวงสรวงเปิดนมัสการพระบาทพลวง นิยมทำในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 2 โดยมีรายการเครื่องบวงสรวงดังนี้

บายศรีห้าชั้น 1 คู่ บายศรีปากชาม 1 คู่

หัวหมูและน้ำพริกเกลือ 1 คู่ มะพร้าวอ่อน 1 คู่

ผลไม้ห้าอย่างๆ ละ 1 คู่ ขนมห้าอย่าง (เต้าเลี่ยว) 1 คู่

กล้วย ถั่ว งา อย่างละ 1 คู่ ขนมเปี๊ยะ 10 คู่

ผ้าขาว 1 ผืน ผ้าแดง 1 ผืน

น้ำหวาน 2 คู่ หมากพลู บุหรี่

ผักพล่าปลายำ (ข้าวผสมกับข้าว)

หลังจากเตรียมเครื่องบวงสรวงเสร็จแล้วจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ โดยการเริ่มต้นด้วยการชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตอยู่บนเขาพระบาทเป็นสักขีพยานรับเครื่องสังเวยที่นำมาทำพิธีครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวถึงช่วยปกป้องอภิบาลรักษาผู้ที่มานมัสการให้พ้นจากอันตรายที่อาจจะเกิดจากสัตว์ร้าย การเดินทาง การปฏิบัติธรรม ตลอดจนช่วยดลจิตผู้ที่คิดไม่ดี ผู้กระทำชั่วไม่อยากขึ้นไป

พิธีปิด

เมื่อเปิดนมัสการไปได้ประมาณ 2 เดือนก็จะมีพิธีปิดพระบาทซึ่งเครื่องบวงสรวงจะเหมือนพิธีเปิด แต่จำนวนจะเพิ่มมากเป็นพิเศษ เพราะผู้แสวงบุญจะนำอาหารมาร่วมด้วย ส่วนคำกล่าวจะพูดในลักษณะขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย นอกจากนี้ยังเป็นการคืนป่าให้กับสัตว์ต่างๆ ที่เคยอยู่บริเวณพระบาท

ประเพณีนมัสการพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏจันทบุรี

ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏหรือพระบาทพลวง เป็นเทศกาลเดือน 3 ที่ปฏิบัติกันมาช้านาน แต่เดิมเริ่มขึ้นไปนมัสการในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี แต่มาระยะหลังนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนที่มีความเลื่อมใสศรัทธาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้เปิดเวลาให้นมัสการมากขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2536 เปิด 30 วัน ในปี พ.ศ. 2537 เปิด 45 วัน และในปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เปิดให้นมัสการ 60 วัน และยังคงเริ่มเปิดให้นมัสการเดือน 3 เหมือนเดิม (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 97-99, 150)

แกลลอรี่ภาพ

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)
จังหวัดจันทบุรีจะมีพิธีกรรมอย่างหนึ่ง คือพิธีบวงสรวงเปิดนมัสการพระบาทพลวง นิยมทำในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 2
สถานที่สำคัญทางศาสนา
วัดพลวง
49 หมู่ 4 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ตำบล พลวง อำเภอ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22210
039-309-166
เขาคิชกูฏ วัดพลวง พระบาทพลวง นมัสการรอยเท้าพระพุทธเจ้า
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2015-09-29 13:55:13
พิกัดสถานที่ : 12.943578, 102.0959585
พิกัดสถานที่ : 12.943578, 102.0959585 หมายเหตุ การเดินทางเริ่มต้นจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)
พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)
วัดจันทนาราม
วัดจันทนาราม
วัดโบสถ์เมืองจันทบุรี
วัดโบสถ์เมืองจันทบุรี
วัดป่าคลองกุ้ง
วัดป่าคลองกุ้ง
วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง)
วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง)
วัดโยธานิมิต
วัดโยธานิมิต
วัดตะปอนน้อย
วัดตะปอนน้อย
วัดเกวียนหัก
วัดเกวียนหัก
วัดเขาสุกิม
วัดเขาสุกิม
เจดีย์เขาพลอยแหวน
เจดีย์เขาพลอยแหวน
วัดสะพานเลือก
วัดสะพานเลือก
วัดตะกาดเง้า
วัดตะกาดเง้า
วัดเขาชวัง
วัดเขาชวัง
วัดถ้ำสาริกา
วัดถ้ำสาริกา
วัดเขาแก้ว
วัดเขาแก้ว
วัดเขาบรรจบจันทบุรี
วัดเขาบรรจบจันทบุรี
วัดมังกรบุปผาราม
วัดมังกรบุปผาราม
วัดหนองซิ่ม
วัดหนองซิ่ม
พุทธอุทยานวัดชากใหญ่
พุทธอุทยานวัดชากใหญ่
วัดปากน้ำแขมหนู
วัดปากน้ำแขมหนู
วัดเขาแหลมสิงห์
วัดเขาแหลมสิงห์
วัดอ่าวหมู
วัดอ่าวหมู
วัดปากน้ำแหลมสิงห์
วัดปากน้ำแหลมสิงห์
วัดคลองปี
วัดคลองปี
วัดเขาวงกตรุจิรวงศาราม
วัดเขาวงกตรุจิรวงศาราม

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล   (โบสถ์วัดคาทอลิก)
วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (โบสถ์วัดคาทอลิก)
วัดทองทั่ว โบราณสถานเมืองเพนียด
วัดทองทั่ว โบราณสถานเมืองเพนียด
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช