ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองจันท์ บ่งบอกถึงความผูกพันของชาวเมืองนี้ที่มีต่อพระเจ้าตาก โดยมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่ได้มาสักการะพระเจ้าตาก ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงเมืองจันท์ ประวัติ : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมเป็นศาลไม้อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาในปี 2463 สมัย ม.จ. สฤษดิเดชชยางกูร เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้สร้างศาลขึ้นใม่บรเวณด้านหน้าค่าย ทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยอาศัยอาคารเป็นศาลาคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุตข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างรวม 3 ด้าน กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำพระองค์พระเจ้าตาก

ขณะนั้นยังไม่มีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประดิษฐานเช่นปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2534 ชาวจันทบุรีได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้นใม่อีกหลัง เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยมคู่ กับศาลเดิม

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา เป็นที่ประดิษฐานพระบรทรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งหล่อด้วยทองเหลืองรมดำผนังภายในเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้อย่างสวยงาม

ชาวจันทบุรีถือว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทำให้จันทบุรีเป็นที่รู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในฐานะเป็นฐานที่มั่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในระหว่างการรวบรวมพลรวมถึงเสบียงอาหาร และสถาปนาอำนาจขึ้นใหม่ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2310 ขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือพระยาวชิรปราการ (สิน) ในขณะนั้น เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาต้องแตกพ่ายและตกเป็นของพม่าแน่นอน จึงรวบรวมพลทหารไทย จีน ได้ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าทางทิศตะวันออก โดยต่อสู้กับข้าศึกในระหว่างทางและได้ชัยชนะ สามารถรวบรวมไพร่พลได้มากขึ้น

พระยาวชิรปราการเห็นว่าจันทบุรีมีชัยภูมิที่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ เป็นหัวเมืองชายทะเลที่ปลอดจากสงคราม ทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพันธัญญาหาร รวมทั้งยังเป็นชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว พระยาวชิรปราการมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋วและเคยเป็นพ่อค้ามาก่อน จึงมุ่งหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากชาวจีนเหล่านี้ ดังนั้นจึงใช้เมืองจันท์เห็นที่มั่น และรวบรวมหัวเทืองชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ทั้งหมด สามารถต่อเรือรบได้ 100 ลำ มีผู้สวามิภักดิ์มากขึ้นถึง 5,000 คน แล้วกลับไปตีทัพพม่า ขับไล่ออกไปจากอยุธยาได้สำเร็จนับเป็นการกอบกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้อีกรั้ง

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองจันท์ บ่งบอกถึงความผูกพันของชาวเมืองนี้ที่มีต่อพระเจ้าตากสินมหาราช
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
จังหวัดจันทบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์พระเจ้าตาก ศาลหลักเมือง
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2015-10-01 14:23:39
พิกัดสถานที่ : 12.6164788, 102.1100611
พิกัดสถานที่ : 12.6164788, 102.1100611 หมายเหตุ การเดินทางเริ่มต้นจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล   (โบสถ์วัดคาทอลิก)
วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (โบสถ์วัดคาทอลิก)
ค่ายเนินวง
ค่ายเนินวง
คุกขี้ไก่
คุกขี้ไก่
ตึกแดง
ตึกแดง
ชุมชนริมน้ำจันทบูร
ชุมชนริมน้ำจันทบูร
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ศาลหลักเมืองจันทบุรี
ศาลหลักเมืองจันทบุรี

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

วัดจันทนาราม
วัดจันทนาราม
วัดทองทั่ว โบราณสถานเมืองเพนียด
วัดทองทั่ว โบราณสถานเมืองเพนียด