ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "ประเพณีชักพระบาท"

ประเพณีชักพระบาท
ประเพณีชักพระบาท

ประเพณีชักพระบาท

ประเพณีชักพระบาท ต.เกวียนหัก อ.ขลุง น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปแบบในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งในประเพณีชักพระนั้นจะมีการนำเชือกมาผูกเรือพระแล้วลากไปยังสถานที่ที่กำหนด ผู้ที่ทำการชักพระนั้นก็มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งไม่มีการจำกัด นอกจากนี้จะมีผู้ตีกลองประโคมตลอดทาง เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งกำลังของผู้แข่งชักพระทั้งรูปแบบการประกอบพิธีกรรมตลอดจนชื่อที่ใช้เรียกพิธีกรรมนั้น มีความคล้ายคลึงกันกับประเพณีชักพระบาทของชาวตะปอนจังหวัดจันทบุรี

จากข้อสันนิษฐานข้างต้นจะเห็นว่า ประเพณีชักพระบาทของชาวตะปอน จังหวัดจันทบุรีนั้น ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีมาจากประเพณีชักพระทางภาคใต้ หรือภาคใต้อาจได้รับอิทธิพลไปจากจังหวัดจันทบุรี ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเป็นการสันนิษฐานจาก สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวถึงเส้นทางคมนาคมของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล สามารถเดินทางได้ถึงจังหวัดทางภาคใต้ได้ไม่ยากนัก แต่ลักษณะของการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันน่าจะมาจากสภาพลักษณะภูมิประเทศ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของตน โดยสังเกตได้จากทางใต้นั้นมีลักษณะภูมิประเทศที่ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพทำการประมง จึงใช้เรือเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง การประกอบอาชีพ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆ ส่วนจังหวัดจันทบุรีนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่มิได้ติดกับทะเล ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตมีการนำเกวียนมาบรรทุกพืชผลทางการเกษตร และเป็นพาหนะในการเดินทาง จึงได้นำเกวียนนี้มาใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย

ความเชื่อของชาวตะปอนกับประเพณีชักพระบาท ผ้าพระบาทจำลองนั้นเป็นของชาวตำบลตะปอนมาหลายร้อยปี หมู่บ้านใดนำรอยพระพุทธบาท ไปทำบุญเพื่อบูชาหลังจากนั้นจึงขึ้นเกวียนที่ตกแต่งประดับประดาอย่างงดงาม แล้วทำการแห่ไปยังหมู่บ้านของตน โดยม้วนผืนผ้าพระบาทแล้วนำไปประดิษฐานบนเกวีย น ซึ่งประกอบด้วยกลองอีก 1 ใบ จะไปทางไหนก็ช่วยกันลากจูงไปและตีกลองกันไปตลอดทาง หมู่บ้านใดจะนำไปทำบุญบูชาก็จะพากันไปทั้งหญิงและชายพร้อมทั้งลูกหลานเพื่อช่วยกัน ลากจูงเกวียนพระพุทธบาทซึ่งชาวบ้านเรียกว่าไปรับพระ ซึ่งจะทำให้เกิดความสนุกสนาน เพราะว่าผู้ที่มารับพระนั้นต้องลากจูงเกวียนพระพุทธบาทกลับไปยังหมู่บ้านของตน ความเชื่อในการจัดพิธีกรรมนั้นถือเป็นพื้นฐานหนึ่งที่ชาวตะปอนยึดให้เป็นแบบแผนและขนบธรรมเนียมให้ประชาชนถือปฏิบัติสืบจวบจนปัจจุบัน ชาวบ้านที่ร่วมพิธีในพิธีกรรมนั้นต่างมีความศรัทธาในผืนผ้าพระพุทธบาทว่าเมื่อทำการสักการะบูชาแล้วจะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว นอกเหนือจากความสนุกสนานจากการชักเย่อเกวียนแล้วยังเกิดประโยชน์ในการส่งเสริมความสามัคคีจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในหมู่บ้าน อันส่งผลให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่หมู่บ้านต่อไปด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน อันมีแก่ประเพณีชักพระบาทถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่งที่จะต้องปฏิบัติในงานประจำปีของชาวบ้านตำบลตะปอน เมื่อมีจิตใจอันศรัทธาแก่ผ้าพระพุทธบาท ชาวบ้านจึงร่วมกันแข่งขันชักเย่อเกวียน อันเป็นการละเล่นหนึ่งในประเพณี ชักพระบาทเหมือนเป็นการได ้ออกกำลังไปด้วย เป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในหมู่บ้าน เห็นความสำคัญของการมีจิตศรัทธาร่วมกันแสดงถึงความตั้งใจและความอด ทนซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จ คือชัยชนะ แต่แฝงไปด้วยการรู้จักให้และเสียสละดังจะเห็นได้จากการให้ผ้าพระพุทธบาทไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ต่อไป

แกลลอรี่ภาพ

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

ประเพณีชักพระบาท
ได้รับอิทธิพลมาจากประเพณีชักพระของทางภาคใต้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปแบบในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งในประเพณีชักพระนั้นจะมีการนำเชือกมาผูกเรือพระแล้วลากไปยังสถานที่ที่กำหนด
ประเพณีท้องถิ่น
sanook
ชักพระบาท เกวียน ประเพณีชักพระ ผ้าพระบาท
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/Yatphirun_P/sec04p02.html
นางสาวสุชารี แสงทอง แก้ไขล่าสุด 2020-12-15 09:51:07

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

ควายเพลิง
ควายเพลิง
ประเพณีชักพระบาท
ประเพณีชักพระบาท
ประเพณีการแข่งเรือวัดจันทนาราม
ประเพณีการแข่งเรือวัดจันทนาราม
ประเพณีพานฟางของชาวบ้านวันยาวล่าง จันทบุรี
ประเพณีพานฟางของชาวบ้านวันยาวล่าง จันทบุรี