จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งปลูกพริกไทยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สำคัญ โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณร้อยละ 95 ของพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศปีละจำนวนมาก และเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัด
พริกไทย เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง
พริกไทย เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง การขยายพันธุ์สามารถจะปลูกได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ โดยอาศัยลำต้นส่วนยอด หรือส่วนอื่นๆ ที่ไม่แก่มาก
ใบ : แก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อ
เมล็ด : ผลที่ยังไม่สุกนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
ผลแก่ : 15-20 เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1 ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย
ดอก : แก้ตาแดง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์
ที่มา
http://www.chanthaboon.net/index.php
option=com_k2