ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "เงาะ"

เงาะ
เงาะ

เงาะ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร:Plantae

หมวด: Magnoliophyta

ชั้น: Magnoliopsida

อันดับ: Sapindales

วงศ์: Sapindaceae

สกุล: Nephelium

สปีชีส์: N. lappaceum

ชื่อทวินาม Nephelium lappaceum L.

เงาะ (อังกฤษ: Rambutan; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephelium lappaceum Linn.) เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่น กำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยทั่วไปเงาะ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เงาะในประเทศไทย จึงนิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ อาทิ พันธุ์สีทอง พันธุ์น้ำตาลกรวด พันธุ์สีชมพู พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์เจ๊ะมง เป็นต้น แต่ พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกเป็นการค้า มีแค่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง และพันธุ์สีชมพู ส่วนพันธุ์อื่นๆ จะมีปลูก กันบ้างประปรายและโดยมากมักใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษาทางวิชาการ ในอดีตประ เทศที่ผลิตและส่งออกรายใหญ่ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันพบว่าประเทศผู้ผลิตใหม่ เช่น ออสเตรเลีย และฮอนดูรัส ได้เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มมากขึ้น

ลักษณะทั่วไป

เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30° C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น/

ต่อมาพ.ศ. 2497 นายเค วอง เลิกกิจการเหมืองแร่และขายที่ดินพร้อมบ้านให้แก่กระทรวงธรรมการในขณะนั้น (กระทรวงศึกษาธิการ) และปรับปรุงใช้เป็นสถานที่เรียนเรียกว่า โรงเรียนนาสาร ส่วนเงาะที่นายเค วอง ปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์ออกไปสู่ประชาชนทั่วไปโดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกกันว่าเงาะโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายชัช อุตตมางกูร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียนและขอพระราชทาน ชื่อพันธุ์เงาะใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสว่า "เงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" นับแต่นั้นมาเงาะพันธุ์นี้จึงได้เรียกว่า "เงาะโรงเรียน" อย่างเป็นทางการ

ประโยชน์

เงาะมีสารที่มีชื่อว่า แทนนิน ซึงแทนนินนี้สามารถใช้ฟอกหนัง ย้อมผ้า บำบัดน้ำเสีย ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ป้องกันแมลง ทำเป็นปุ๋ย ทำเป็นกาว และทำยารักษาโรค แต่มีโทษคือ แทนนินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร หากกินเข้าไปมากจะทำให้รู้สึกท้องอืด หรือท้องผูก มีอาการเหมือนกับการดื่มน้ำชา เปลือกผลของเงาะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

คุณค่าทางโภชนาการ

เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวานและ อมเปรี้ยวรับประทานเงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรง ได้ผลดี นอกจากนี้ผลเงาะนำมาต้ม นำน้ำที่ได้มาเป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง มีข้อควรระวัง คือเม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นไม่ควรจะรับประทานเม็ด

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

เงาะ
เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น มีหลากหลายพันธ์ นิยมปลูกในจังหวัดจันทบุรี
พืชเศรษฐกิจ
เงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสี สวนผลไม้ จันทบุรี
https://sites.google.com/site/rambutanfarm79/prawati-khwam-pen-ma-khxng-ngeaa
จตุพร พุทธิศา แก้ไขล่าสุด 2019-03-29 10:16:26

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

พริกไทย
พริกไทย
มังคุด
มังคุด
ทุเรียน
ทุเรียน
สละ
สละ
เงาะ
เงาะ
ยางพารา
ยางพารา