เป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้ในจังหวัดตราดและจันทบุรี เป็นเร่วที่มีลักษณะแตกต่างจากเร่วชนิดอื่น ๆ ทั้งในด้านของลักษณะ กลิ่น รสชาติ และส่วนที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งในปัจจุบันมีการปลูกเร่วหอมเพื่อจำหน่ายมากขึ้น และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
• วงศ์ : Zingiberaceae วงศ์เดียวกับ ขิง ข่า กระวาน และเร่ว
• สกุล : Etlingera สกุลเดียวกับกาหลา และปุด
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm.
• ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Etlingera punicea (Roxb.) R.M. Smith
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ลำต้นใต้ดิน มีลักษณะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เรียกว่า ลำต้นจริง มีลักษณะเป็นกระเปราะ แตกไหลสีขาวอมชมพูออกจากเหง้าเป็นหลายแฉกเพื่องอกเป็นต้นใหม่ เนื้อเหง้ามีกลิ่นหอม
2. ลำต้นเหนือดิน เป็นส่วนที่โผล่อยู่เหนือดินแทงออกจากเหง้าใต้ดิน มีลักษณะวงกลมสีเขียวอมน้ำตาล ซึ่งประกอบด้วยส่วนของกาบใบจำนวนหลายชั้นเรียงซ้อนกันแน่น เรียกว่า ลำต้นเทียม มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร เมื่อลูบคลำลำต้นจะรู้สึกสากมือ
เร่วหอมจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แตกออกเรียงสลับตรงข้ามกันบนลำต้นส่วนเหนือดิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกาบใบ เป็นส่วนกาบที่ห่อหุ้มแกนลำต้น โดยห่อเป็นชั้นร่วมกับกาบใบของใบอื่น ถัดมาเป็นก้านใบ มีขนาดสั้น และถัดมาเป็นแผ่นใบ มีลักษณะเรียวยาว แผ่นใบเรียบ หนา มีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน แผ่นใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเรียบเรียบหรืออาจพบมีการโค้งเล็กน้อย มีเส้นกลางใบขนาดใหญ่ และมองเห็นชัดเจน ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งสั้น 1-1.5 เซนติเมตร
ดอกเร่วหอม จะแทงออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ดอกมีลักษณะเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกสั้น ตัวช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยเรียงซ้อนสลับกันตามความยาวของก้านดอก ตัวดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีแดงสดใส ขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร
ผลเร่วหอม มีผลขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดสีดำเรียงตัวอัดแน่น
1. เหง้าของเร่วหอมมีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ด ช่วยดับกลิ่นคาว และเพิ่มรสชาติของอาหารได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำมาบดเป็นผงสำหรับใช้เป็นเครื่องเทศผสมในการทำอาหารหลายชนิด อาทิ ผัดเผ็ด แกงป่า แกงเลียง ต้มพะโล้ และก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ทั้งนี้ ชาวจังหวัดจันทบุรี และจังหวดอื่นในภาคตะวันออกนิยมปลูกเร่วหอมเป็นผักสวนครัวภายในบ้านหรือหัวไร่ปลายนาสำหรับใช้ประกอบอาหาร และเก็บจำหน่ายเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน
2. แก่นลำต้นอ่อนหรือยอดอ่อน มีกลิ่นหอม และกรอบ นิยมใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงเลียง ผัดฉ่า และผัดเผ็ด เป็นต้น
3. รากมีกลิ่นหอม ใช้ทำหรือเป็นส่วนผสมของยาเส้น และยาหอมเย็น
ราก และเหง้าใต้ดิน
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
– ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– ช่วยลดไข้
– แก้หอบหืด
แก่นอ่อนลำต้น ยอดอ่อน และใบ
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ดอก
– ช่วยลดไข้
– แก้ผดผื่นคัน
ผล
– ช่วยแก้ไข
– แก้ริดสีดวง
– แก้ไอหืด ไอมีเสมหะ