ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี RBRU e-Culture

ระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น สำหรับสืบค้นข้อมูล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี "พระยาวิสูตรโกษา"

พระยาวิสูตรโกษา
พระยาวิสูตรโกษา

พระยาวิสูตรโกษา(ฟัก สาณะเสน)

มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ ณ บ้านทำเนียบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จันทบุรี เป็นบุตรของพระยาประเสริฐสัจธารี(เยื้อง สาณะเสน) ผู้ว่าราชการเมืองระยอง กับนางพุดสมัยปฐมวัยเคยเป็นศิษย์วัดไผ่ล้อมและศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นศิษย์ของท่านอุปัชฌาย์เหมียง สมภารวัดไผ่ล้อมในสมัยนั้น ภายหลังเข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษาที่จังหวัดพระนคร มีท่านผู้ใหญ่ได้อุปการะฝากเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับราชการมาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน หมั่นเพียรในหน้าที่ราชการ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาวิสูตรโกษา” ตำแหน่งอัครราชทูตสยาม ประจำราชสำนักเซนต์เยมส์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ดูแลพระราชโอรสแทนพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งอยู่ระหว่างทรงศึกษาเล่าเรียน ณ ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสยาม ประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสจนเกษียณอายุราชการ

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต พระยาวิสูตรโกษาได้เดินทางกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงชวนพระยาวิสูตรโกษาให้อยู่รับราชการกับพระองค์อีก แต่ท่านให้เหตุผลว่าท่านชราภาพมากแล้ว ขอกลับภูมิลำเนาเดิม คือจังหวัดจันทบุรี และในครั้งนั้นได้สร้างบ้านพักริมแม่น้ำจันทบุรี เรียกชื่อบ้านหลังนี้ว่า “ทับสาณะเสน” และอยู่อาศัยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

“ทับสาณะเสน” มีเนื้อที่ 16 ไร่ เป็นหนึ่งในบ้านเก่าแก่ที่ยังพอมีให้เห็นในเมืองจันทบุรีทุกวันนี้ “ทับสาณะเสน” เป็นอาคารตึกก่ออิฐถือปูนสองชั้น ใต้ถุนต่ำ ขนาดกว้าง 12.65 เมตร ยาว 16.65 เมตร สูงประมาณ 14 เมตร พื้นไม้ตะเคียน หลังคามุงกระเบื้องว่าว โครงสร้างหลังคาไม้ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ตัวอาคารก่อสร้างแบบใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก ทรงช่องหน้าต่างโค้ง ประตูโค้ง มองทะลุในแนวเดียวกันตลอด ลายฉลุช่องลมเหนือบานประตูและหน้าต่างมีรูปทรงเป็นลายเครือเถาที่ประดิษฐ์ตัวลายให้ผูกพันสอดเกี่ยวกันอย่างสวยงาม เป็นชั้นเชิงแปลกตา ลายปูนปั้นของตัวอาคารสะท้อนเงาอดีตย้อนไปถึงสมัยมณฑลจันทบุรี นับเป็นแบบอย่างของตัวอาคารและสไตล์หน้าต่างแบบศิลปะตะวันตกที่หาดูได้ยากแม้ในกรุงเทพฯ เองก็ตาม

ในอดีตบริเวณที่ตั้ง “ทับสาณะเสน” นี้เป็นที่ดินของบาทหลวงองค์หนึ่ง เมื่อบาทหลวงมารณภาพชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ดอนตาหลวง” พระยาวิสูตรโกษาได้ซื้อที่ดินบริเวณนี้ไว้ทั้งหมด ด้านหนึ่งของบริเวณบ้านพักติดกับแม่น้ำจันทบุรี ชาวบ้านนิยมเรียกพื้นที่นี้ว่า “ดอนตากฟัก” แทนดอนตาหลวง เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงผู้คนนับถือยกย่องท่านมาก

หลังจากพระยาวิสูตรโกษามรณะภาพ ชาวบ้านจึงพากันเรียกบริเวณนี้ว่า “สวนเจ้าคุณวิสูตร” หรือ “สวนพระยาวิสูตร” จนกระทั่งปัจจุบันก็มิได้มีใครเรียก “ดอนตาฟัก” ตามความตั้งใจเดิมของท่าน

แกลลอรี่ภาพ

รายละเอียดข้อมูลท้องถิ่น

พระยาวิสูตรโกษา
เป็นศิษย์ของท่านอุปัชฌาย์เหมียง สมภารวัดไผ่ล้อมในสมัยนั้น ภายหลังเข้าศึกษาและสำเร็จการศึกษาที่จังหวัดพระนคร มีท่านผู้ใหญ่ได้อุปการะฝากเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับราชการมาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน หมั่นเพียรในหน้าที่ราชการ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?พระยาวิสูตรโกษา
พระมหากษัตริย์
kitsada
พระยาวิสูตรโกษา ทับสาณะเสน จันทบุรี สวนพระยาวิสูตร
http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/person.html
นางสาวสุชารี แสงทอง แก้ไขล่าสุด 2020-12-15 13:19:28

ข้อมูลอื่นประจำหมวดหมู่

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระยาวิสูตรโกษา
พระยาวิสูตรโกษา
 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  ( ดิศ บุนนาค )
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ( ดิศ บุนนาค )
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

วังสวนบ้านแก้ว
วังสวนบ้านแก้ว
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช