เสื่อ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวจังหวัดจันทบุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงฟื้นฟูการทอเสื่อขึ้น เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ วังสวนบ้านแก้วทรงหากรรมวิธีย้อมสีเสื่อ ออกแบบลาย และออกแบบรูปทรงต่าง ๆ ของวัสดุที่ทำด้วยเสื่อจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นหน้าตาของจังหวัดจันทบุรี
คณาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ได้นำวิธีการทอเสื่อมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยเริ่มจากการตัดกก จักกก ย้อมสีกก ตลอดจนการทองเป็นผืนเสื่อ ทั้งนี้โดยได้ รับการแนะนำจากอาจารย์สิริวิภาทิพย์สมบัติบุญ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี
ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนประมาณ ๖-๙ คน
สวมเสื้อแขนกระบอกผ่าหน้า นุ่งผ้าถุงกรอมเท้า ผมเกล้าทำมวยสูงกลางศีรษะ ทัดดอกไม้ เครื่องประดับได้แก่ ต่างหู สร้อยข้อมือ เข็มขัด
๑. มีด ใช้สำหรับตัดต้นกกถ
๒. ผืนเสื่อถ ดนตรี ดนตรีที่ ใช้ในการแสดงระบำทอเสื่อ คือ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงและจังหวะใช้จินตนาการไปตามลีลาท่ารำ ทำนองเพลงมีสำเนียงเขมร