" ควนคราบุรี " หมายถึง ชื่อเมืองจันทบุรี ตามหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยกล่าวว่า มองซิเออร์ เอเตียนน์ เอ โมนิเออร์ (Etienne Aymonier) ได้เขียนเรื่องราวไว้ในหนังสือ " แคมโบช " (Le Cambodage) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๑ มีบาทหลวงคนหนึ่งได้พบศิลาจารึกอักษรสันสกฤตที่บริเวณเขาสระบาป ( ปัจจุบันเขาสระบาปอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัด จันทบุรี ) มีข้อความว่าเมืองจันทบุรีได้ตั้งมาช้านาน ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในเวลานั้นเรียกว่า " ควนคราบุรี" ผู้สร้างเมืองชื่อ หาง หรือแหง คนพื้นเมืองเป็นพวกชอง
อนึ่ง มีคำกล่าวกันว่า ไทยกับเขมรได้รบกันเมื่อ ค.ศ.๑๒๗๓ - ๑๓๙๓ ( พ.ศ. ๑๙๑๖ - ๑๙๓๖ ) เพื่อแย่งการครอบครองเมือง จันทบุรี ซึ่งบางทีเรียก จันทบุรี เขียนเป็นภาษาอังกฤษ CANDRAPURIการที่ CANDRAPURI(คานคราบุรี ) กลายเป็น ควนคราบุรีไปนั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการออกเสียงของภาษาไทยแล้วนำไปเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือจากการฟัง ภาษาอังกฤษแล้วนำมาพูดภาษาไทย
แนวความคิดในการประดิษฐ์ระบำควนคราบุรี เนื่องจากจังหวัดจันทบุรีได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากขอม มีหลักฐานทางศิลปะ วัฒนธรรมของขอมเหลืออยู่ เช่น ซากกำแพงเมืองเก่า ศิลาแกะสลักเทวรูป ศิลาจารึก ภาษาขอมและภาษาขอม เป็นต้นภาษา ขอม - ชื่อตำบลปัถวี อำเภอมะขาม มาจากคำเขมร " ปฐวี " แปลว่าแผ่นดิน
ระบำควนคราบุรีนั้นสามารถใช้แสดงได้หลายโอกาส แบ่งตามจุดประสงค์ได้ดังนี้
1.เป็นการแสดงให้เห็นถึงศิลปะของไทยผสมศิลปะขอม
2.เป็นการแสดงให้เห็นว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย
3.เพื่อให้แขกผู้มาเยือนหรือผู้อื่นรู้จักจังหวัดจันทบุรียิ่งขึ้น
4.เพื่อให้เกิดความบันเทิง
การแต่งกายระบำควนคราบุรี การแต่งกายได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยศิลปะการแต่งกายของสมัยลพบุรี ซึ่งมี ลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะของขอมเป็นหลักมีส่วนที่ดัดแปลงบ้างเล็กน้อย สตรีสมัยลพบุรี ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายมาซ้อนกัน ตรงหน้าแล้วปล่อยชาย ผ้าออกสองข้าง ใส่กรองคอมีลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ มีลวดลายสวยงามปลายทำด้วยเทริด ไม่นิยมใส่ รองเท้า ชายสมัยลพบุรี ไม่สวมเสื้อ นิยมนุ่งผ้าสูงสั้นเหนือเข่า ทิ้งชายพกออกมาด้านนอกเป็นแผ่นใหญ่ คาดเข็มขัดมีลวดลาย ประดับ ใส่ต่างหูและกรองคอ
หญิง ใส่เสื้อรัดคอ ( สมมุติว่าไม่สวมเสื้อ ) นุ่งผ้าชายซ้อนกันตรงหน้า ใส่กรองคอ ใส่ต่างหู คาดเข็มขัดขนาดใหญ่มีลวดลายสวยงาม รัดต้นแขน ใส่กำไลข้อมือและกำไลเท้า แต่งผมเกล้ามุ่นเป็นมวยตรงกลางศรีษะ มีเครื่องประดับศรีษะ