แนวคิดในการประดิษฐ์ท่ารำระบำเก็บพริกไทย เนื่องจาก วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีมีหน้าที่จะต้องอนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทย รวมถึงการอนุรักษ์และการ แสดงศิลปพื้นเมืองทางภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการแสดงศิลปพื้นเมืองภาคตะวันออก ไม่ค่อยมีเด่นชัดนัก ทางคณะครูอาจารย์สายนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี จึงได้ประดิษฐ์ชุดการแสดงขึ้นตามสภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่นใน จังหวัดจันทบุรี
จากคำขวัญของจังหวัดจันทบุรีที่ว่า " น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี " นั้นจะเห็นว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัด หนึ่ง มีทั้งน้ำตกที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มีอัญมณีที่มีหลายชนิด มีเสื่อที่เป็นหัตถกรรมที่เป็นที่รู้จักกัน แพร่หลาย มีผลไม้และพริกไทยซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นรายได้ให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีได้อย่างดียิ่ง ชาวจังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำเกษตร ได้แก่ การทำสวนผลไม้และการทำสวนพริกไทย ทางคณาจารย์สายนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี เห็นว่าพริกไทยเป็นพืชเศรษฐกิจของจันทบุรีอย่างหนึ่งและมีขั้นตอนวิธีการที่น่าสนใจ จึงได้นำ ขั้นตอนการผลิตพริกไทยมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิธีการผลิตดังกล่าว ระบำเก็บพริกไทยใช้ผู้แสดง เป็นหญิงล้วน ประมาณ ๖-๘ คน
ดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงชุดระบำเก็บพริกไทยเป็นวงปี่พาทย์ไม้นวมนายฐิระพล น้อยนิตย์ อาจารย์วิทยาลัย นาฏศิลป ได้ประดิษฐ์ทำนองเพลงให้เมื่อครั้งมาช่วยราชการที่วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี เมื่อปีการศึกษา ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘